เสียงในภาษาไทย - เสียงแท้ (เสียงสระ)
เสียงแท้ (เสียงสระ)
ในภาษาไทยมีสระทั้งสิ้น 21 หน่วยเสียง คือ สระเดี่ยว 18 หน่วยเสียง (สั้น 9 ยาว 9) และสระประสม 3 หน่วยเสียง โดยจะไม่มีอวัยวะส่วนใดเลยที่ปิดกั้นการออกเสียง มีอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียงต่าง ๆ อยู่ 2 ส่วนคือ ลิ้น และริมฝีปาก
สระเดี่ยว
สระเดี่ยวเกิดจากส่วนของลิ้นแต่ละส่วน การยกระดับของลิ้น รวมทั้งลักษณะของริมฝีปาก มีทั้งหมด 18 หน่วยเสียง ดังตารางต่อไปนี้
สระประสม หรือสระผสม หรือสระเลื่อน เกิดจากการการพูดสระสองเสียงในเวลาใกล้เคียงกัน (เริ่มต้นที่สระหนึ่ง ไปจบอีกสระหนึ่ง) มีทั้งหมด 3 หน่วยเสียง คือ เอีย, เอือ และอัว โดยถือว่าสระประสมเสียงสั้นและเสียงยาวเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน เนื่องนักภาษาศาสตร์ถือว่าทั้งเสียงสั้นเสียงยาวให้ความหมายไม่ต่างกัน และส่วนใหญ่เป็นคำเลียนเสียง หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น
หมายเหตุ หน่วยเสียง และเสียงต่างกัน หน่วยเสียงเกิดขึ้นจากการจัดระบบเสียงจากเสียงที่สำคัญของภาษา หากเสียงที่แตกต่างกันแต่สื่อความหมายเหมือนกันถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน เช่น เสียง /ต/ และเสียง /ท/ ในภาษาอังกฤษ เช่่นคำว่า tea จะออกเสียง ที หรือ ตี ความหมายก็ไม่เปลี่ยน ถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน (เสียงเป็นเซ็ตย่อยของหน่วยเสียง)
เนื้อหาตรงตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท 4.1 ม.1/1 อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย (เสียงในภาษาไทย), ม.4-6/1 อธิบายธรรมชาติของภาษา พลังของภาษา และลักษณะของภาษา(เสียงในภาษาไทย)
อ้างอิง
หนังสือ
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2544). การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2550). ลักษณะภาษาไทย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ. (สำเนา)
วรวรรธ ศรียาภัย. (2556). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สัมปชัญญะ.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น