คำกริยา




          คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ บอกสภาพ หรือแสดงการกระทำของประธานในประโยค หากขาดคำกริยาจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ คำกริยาจึงเป็นคำสำคัญในประโยคซึ่งอาจจะเป็นคำแสดงอาการคำเดียวหรือเป็นกลุ่มคำก็ได้ เช่น นั่ง นั่งเล่น ดู ดูแล ร้อง ร้องเรียก ร้องแพลง นั่งร้องเพลง เป็นต้น

ชนิดของคำกริยา


คำกริยามี  4  ชนิด  คือ

          1. คำกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวของมันเอง (อกรรมกริยา) คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เป็นคำที่บอกอาการแล้วผู้ฟังสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที และอาจมีคำขยายกริยาหรือมีคำบุพบทประกอบประโยคก็ได้ ได้แก่คำว่า

          ยืน    นอน    วิ่ง    เดิน    ร้องไห้    บิน    นั่ง    โค่น    ตก    เห่า


ตัวอย่างเช่น
- น้องสาวร้องเพลงในบ้าน     (มีส่วนขยาย คือ คำว่า ในบ้าน
- พี่ชายนั่งเล่นที่สวนสาธารณะ     (มีส่วนขยาย คือ คำว่า ที่สวนสาธารณะ)


          2. คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ (สกรรมกริยา) คำกริยาชนิดนี้ถ้าไม่มีกรรมมารับข้างท้ายแล้วจะทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ เพราะความหมายยังไม่สมบูรณ์ ได้แก่คำว่า
                    ไป    ซื้อ    ขาย    กิน    ถือ    ตัด    เห็น    หัก

ตัวอย่างเช่น
          พ่อไป(ทำงาน)     (จากประโยคข้างต้น ไม่สามารถบอกได้ว่า ไปไหน)


          ฉันซื้อ(ชุดนักเรียน)     (จากประโยคข้างต้น ไม่สามารถบอกได้ว่า ซื้ออะไร)

         3. คำกริยาที่ต้องมีส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา) เพราะคำกริยานี้ใจความของประโยคยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีคำนามหรือสรรพนามมารับข้างท้ายจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ คำกริยาประเภทนี้ได้แก่คำว่า
   

                                                           


                                                                                                    
          เป็น    เหมือน    คล้าย    เท่า    แปลว่า    หมายความว่า    เท่ากับ    ราวกับ
                                                                                                 
ตัวอย่างเช่น
- น้องชายของพ่อเป็นนักดนตรี
          - เธอวางท่าทางราวกับนางพญา


          4. คำช่วยกริยา (กริยานุเคราะห์) เป็นคำที่ไม่มีความหมายในตัวเองต้องอาศัยกริยาสำคัญในประโยคช่วยสื่อความหมายในประโยคให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คำช่วยกริยาเป็นคำที่บอกความรู้สึก การคาดคะเน การขอร้อง บังคับ โดยกริยาช่วยบางคำจะอยู่ท้ายประโยค ถ้าเอาคำช่วยกริยาออกก็ไม่ทำให้ขาดใจความสำคัญ ได้แก่คำว่า
          คง    กำลัง    จะ    ได้    แล้ว    ต้อง    อย่า    จง    โปรด    ช่วย    ควร    คงจะ
ตัวอย่างเช่น
-  วันนี้ฝนตกหนักรถคงติดมาก (เป็นการคาดคะเน)
-  ลูกควรนอนได้แล้ว มิฉะนั้นพรุ่งนี้จะตื่นสาย (เป็นการขอร้องโดยให้เหตุผล)
            

หน้าที่ของคำกริยา


          คำกริยาจะทำหน้าที่บอกการกระทำของ คน สัตว์ สิ่งของ ในประโยค ทำให้ประโยคมีใจความสมบูรณ์ ว่าใคร ทำอะไร หรือเป็นอย่างไร

1.       เป็นคำที่แสดงอาการหรือบอกสภาพของประธาน
เช่น
          ไก่จิกข้าวที่ตากบนลาน
          นกอินทรีบินร่อนบนท้องฟ้อง


2.      คำกริยาที่ทำหน้าที่ขยายนาม
เช่น
          คุณยายทำอาหารถวายพระทุกวัน
          (ทำอาหาร เป็นกริยาสำคัญ ส่วยถวาย เป็นคำกริยาขยายนาม พระ)
          พี่ชวนฉันไปทะเล
          (ชวน เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคเหมือนคำนาม)


3.      คำกริยาที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
เช่น
          สูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อชีวิตเป็นพิษต่อคนใกล้เคียง
          (สูบบุหรี่ เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคเหมือนคำนาม)
          พูดดีเป็นศรีแก่ตัว
          (พูดดี เป็นคำกริยาทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคเหมือนคำนาม)

ตรงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท 4.1 ม.1/3 วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค

ความคิดเห็น

  1. จากประโยคพี่ชวนฉันไปทะเล ฉัน เป็นคำชนิดใด

    ตอบลบ

  2. ตื่นเต้น คือ คำกริยาชนิดใดคะ
    เก็บ คือ คำกริยาชนิดใดคะ

    ตอบลบ
  3. ดีเป็นคํากิริยาอะไรอ่ะครับ

    ตอบลบ
  4. ระวังคือคำกริยาอะไรค่ะ

    ตอบลบ
  5. ลงโทษคือคำกริยาอะไรอ่ะค่ะ

    ตอบลบ
  6. อารีตื่นแต่เช้า​ คำกริยาคืออะไร

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ28 พฤษภาคม 2565 เวลา 20:55

    ครับ

    ตอบลบ
  8. ใคร เป็นกริยาไหม

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ17 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:27

    ตื่นเต้นคือกริยาชนิดใด

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบหลักผันวรรณยุกต์

โคลงสี่สุภาพ