บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2015

แบบทดสอบ โคลงสี่สุภาพ

รูปภาพ
Loading...

อักษรสูง - อักษรต่ำ

รูปภาพ
อักษรสูงและอักษรต่ำนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันไม่ได้ โดยอักษรสูงคือหน่วยเสียงเดียวกันกับอักษรต่ำคู่ (อักษรคู่) หากเราลองผันเสียงวรรณยุกต์ดู จะได้ว่า อักษรคู่พื้นเสียงจะอยู่ที่เสียงสามัญ ส่วนอักษรสูงนั้นพื้นเสียงจะอยู่ที่เสียงจัตวา ดังเช่น คา -ข่า-(ค่า, ฆ่า), ข้า-ค้า- ขา   มีหลักง่าย ๆ ว่า หากอยากทราบว่าตัวนั้นใช่อักษรสูงหรือไม่ ก็ต้องลองผันเสียงวรรณยุกต์ดู หากพื้นเสียงไปตกที่เสียงจัตวาก็คืออักษรสูง ส่วนเหตุที่เราต้องทำความเข้าใจในส่วนนี้เพราะว่ามันเกี่ยวกับการผันรูปวรรณยุกต์นั่นเองครับผม ป.ล.1 พื้นเสียงคือ คำที่เมื่อเขียนแล้วไม่มีรูปวรรณยุกต์ (รูปสามัญ) *รูป กับ เสียงไม่เหมือนกัน เช่น ขา รูปสามัญแต่เสียงจัตวา* ป.ล.2 ข้า ค่า ฆ่า (อัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง) หน่วยเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ สูง ตก ป.ล.3 ที่เรียกว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกันเพราะว่า มันต่างกันแค่เสียงวรรณยุกต์ เช่น ถ้าหากเป็นอักษรกลาง คำว่า กอย - ก๋อย ก็คือเสียง ก เหมือนกัน เช่นเดียวกับอักษรสูงกับอักษรคู่ที่เป็นเสียงจัตวาและเสียงเอกของกันและกัน ดังนั้นจึงเรียกว่าหน่วยเสียงเดียวกัน ต รงตามมาตรฐาน ท 4.1 ป.1/

โคลงสี่สุภาพ

รูปภาพ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง----อันได   พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร--------------ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล--------------ลืมตื่น  ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า------------------อย่าได้ถามเผือ                                                                    (ลิลิตพระลอ) คำเอกโทและคำเป็นคำตาย มีดังนี้ ๑) ตำแหน่งคำเอกโท ในบาทที่ ๑ อาจสลับที่กันได้ เช่น อย่าโทษไท ท้าวท่วย       เท วา อย่าโทษสถานภู ผา                  ย่าน กว้าง อย่าโทษหมู่วง ศา                    มิตรญาติ โทษแต่กรรมเอง สร้าง               ส่งให้เป็นเอง                                               (โคลงโลกนิติ : กรมพระยาเดชาดิศร) ๒. เอกโทษ หมายถึง การแปลงคำที่มีรูปวรรณยุกต์โททำให้มีรูปวรรณยุกต์เอก เช่น เค่า (เข้า) ค่า (ข้า) เพื่อที่จะใช้แทนคำเอก ๓. โทโทษ หมายถึง การแปลงคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกทำให้มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น ฉ้วย (ช่วย) ถู้ (ทู่) เพื่อที่จะใช้แทนคำโท            ๔. คำตาย คือ คำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่ กก กด กบ สามารถใช้แทนคำเอกได้ ตรงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท.4/1 ม.3/6 แต่งบทร้อยกลอง สา

ทัณฑฆาต กับ การันต์

รูปภาพ
ทัณฑฆาต กับ การันต์ต่างกันอย่างไร หลายคนสับสน และแยกไม่ออกระหว่างทัณฑฆาตกับการันต์ วันนี้เรามาดูกันครับว่า ทั้งสองอย่างนั้นต่างกันอย่างไร ทัณฑฆาต คือ ชื่อของเครื่องหมาย มีไว้ใช้ฆ่าเสียงที่ไม่ต้องการออกเสียง เช่น โจทย์ เลย์ วัฒน์ เป็นต้น ส่วนการันต์ คือ พยัญชนะที่ไม่ออกเสียงหรือโดนฆ่าเสียงนั่นเอง