คำกริยา
คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ บอกสภาพ หรือแสดงการกระทำของประธานในประโยค หากขาดคำกริยาจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ คำกริยาจึงเป็นคำสำคัญในประโยคซึ่งอาจจะเป็นคำแสดงอาการคำเดียวหรือเป็นกลุ่มคำก็ได้ เช่น นั่ง นั่งเล่น ดู ดูแล ร้อง ร้องเรียก ร้องแพลง นั่งร้องเพลง เป็นต้น ชนิดของคำกริยา คำกริยามี 4 ชนิด คือ 1. คำกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวของมันเอง (อกรรมกริยา) คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เป็นคำที่บอกอาการแล้วผู้ฟังสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที และอาจมีคำขยายกริยาหรือมีคำบุพบทประกอบประโยคก็ได้ ได้แก่คำว่า ยืน นอน วิ่ง เดิน ร้องไห้ บิน นั่ง โค่น ตก เห่า ตัวอย่างเช่น - น้องสาว ร้องเพลง ในบ้าน (มีส่วนขยาย คือ คำว่า ในบ้าน - พี่ชาย นั่งเล่น ที่สวนสาธารณะ (มีส่วนขยาย คือ คำว่า ที่สวนสาธารณะ) 2. คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ (สกรรมกริยา) คำกริยาชนิดนี้ถ้าไม่มีกรรมมารับข้างท้ายแล้วจะทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ เพราะความหมายยังไม่สมบูรณ์ ได้แก่คำว่า ไป ซื้