อักษรสูง - อักษรต่ำ
อักษรสูงและอักษรต่ำนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันไม่ได้ โดยอักษรสูงคือหน่วยเสียงเดียวกันกับอักษรต่ำคู่ (อักษรคู่) หากเราลองผันเสียงวรรณยุกต์ดู จะได้ว่า อักษรคู่พื้นเสียงจะอยู่ที่เสียงสามัญ ส่วนอักษรสูงนั้นพื้นเสียงจะอยู่ที่เสียงจัตวา ดังเช่น คา-ข่า-(ค่า, ฆ่า), ข้า-ค้า-ขา มีหลักง่าย ๆ ว่า หากอยากทราบว่าตัวนั้นใช่อักษรสูงหรือไม่ ก็ต้องลองผันเสียงวรรณยุกต์ดู หากพื้นเสียงไปตกที่เสียงจัตวาก็คืออักษรสูง ส่วนเหตุที่เราต้องทำความเข้าใจในส่วนนี้เพราะว่ามันเกี่ยวกับการผันรูปวรรณยุกต์นั่นเองครับผม
ป.ล.1 พื้นเสียงคือ คำที่เมื่อเขียนแล้วไม่มีรูปวรรณยุกต์ (รูปสามัญ) *รูป กับ เสียงไม่เหมือนกัน เช่น ขา รูปสามัญแต่เสียงจัตวา*
ป.ล.2 ข้า ค่า ฆ่า (อัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง) หน่วยเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ สูง ตก
ป.ล.3 ที่เรียกว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกันเพราะว่า มันต่างกันแค่เสียงวรรณยุกต์ เช่น ถ้าหากเป็นอักษรกลาง คำว่า กอย - ก๋อย ก็คือเสียง ก เหมือนกัน เช่นเดียวกับอักษรสูงกับอักษรคู่ที่เป็นเสียงจัตวาและเสียงเอกของกันและกัน ดังนั้นจึงเรียกว่าหน่วยเสียงเดียวกัน
ตรงตามมาตรฐาน ท 4.1 ป.1/2 การผันคำ ป.2/2 การผันอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ, ป.3/1 การผันอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ, ป.4/1 การผันอักษร