บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2015

แบบทดสอบการเขียนสรุปความ

รูปภาพ
อ่านบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม            ตำนานพระธาตุดอยตุง เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงที่มาของพระธาตุดอยตุง (หากปริวรรตตามต้นฉบับภาษาถิ่นล้านนาจะเขียนด้วยตัว ท เป็น "ดอยทุง" ที่แปลว่า ธง หรือดอยธง คือธงตะขาบ ดังปรากฏมีรูหินที่ในบริเวณใกล้กับพระธาตุ อันเป็นที่ปักเสาธงมาก่อน ภาษาไทยกลางเขียนตามเสียงอ่านเป็น "ดอยตุง") ประดิษฐานบนดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บนความสูง ๑ , ๓๖๔ เมตรจากระดับน้ำทะเล หนังสือ "ประวัติพระธาตุดอยตุง"(๒๕๓๖) ที่รวบรวมโดยคณะกรรมการค้นคว้าวิจัยประวัติพระธาตุดอยตุง ระบุถึงแหล่งข้อมูลลายลักษณ์ของตำนานพระธาตุดอยตุงว่า มีตำนาน          ๒ ตำนาน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระธาตุดอยตุงและถ้ำต่าง ๆ คือ               ๑) ตำนานพระธาตุดอยตุง               ๒) ตำนานถ้ำปุ่ม ถ้ำเปลวปล่องฟ้า           เรื่องราวบางส่วนของตำนานพระธาตุดอยตุงและตำนานถ้ำปุ่มฯ ยังปรากฏในตำนานอื่น ๆ เช่น ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ และตำนานสิงหนวัติ และพบว่าไม่ปรากฏต้นฉบับเดิมของทั้งสองตำนานนี้ คงเหลือเพียงฉบับคัดลอกในใบลาน ปกติมักจะพบตำนานทั้งสองนี้อยู่ในฉบับเดียวกั

การเขียนสรุปความ

รูปภาพ
การสรุปความ           เป็นการสรุปเรื่องราวจากการฟังหรือการอ่าน ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะต้องจับใจความและสรุปใจความสำคัญของเรื่อง เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานของการพูด หรือการเขียนสรุปความต่อไปการอ่าน และฟังเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่านหรือฟัง ตัวอย่าง   การสรุปความ เรื่อง ปราสาทเขาพนมรุ้ง        ปราสาทเขาพนมรุ้งเป็นเทวสถานที่สร้างถวายพระศิวะ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ ปราสาทเขาพนมรุ้งสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐ กษัตริย์ขอมผู้สร้างปราสาทที่สำคัญพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าหิรัณยวรมัน ด้วยเหตุนี้จึงได้นำชื่อของพระองค์มาตั้งชื่อเส้นทางที่ตัดเข้าสู่เขาพนมรุ้ง วิธีสรุปความ             ใคร                        พระเจ้าหิรัณยวรมัน กษัตริย์ของพระองค์หนึ่ง             ทำอะไร                   สร้างปราสาทพนมรุ้ง             เมื่อไร                     พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐             อย่างไร                   เพื่อถวามพระศิวะ  

แบบหลักผันวรรณยุกต์

รูปภาพ
กดที่รูป เพื่อดูรูปใหญ่ขึ้น การผันวรรณยุกต์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย เนื่องจากมีหลักมากมาย เราลองมาดูกันครับว่าจะมีหลักอะไรบ้าง อักษรกลาง คำเป็นผันได้ครบทุกเสียง รูปและเสียงตรงกัน คำตายผันได้ 4 เสียง พื้นเสียงอยู่ที่เสียงเอก อักษรสูง ผันไม่ได้ครบทุกเสียง ดังจะเห็นในตารางที่เอา อักษรต่ำคู่ มาช่วย เพื่อให้ผันได้ทุกเสียง ที่เป็นดังนี้เนื่องจาก ทั้งสองเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน (อักษรกลาง จา จ่า จ้า จ๊า จ๋า  จะเห็นว่าทั้งหมดเป็นเสียง จ เหมือนกัน ส่วนอักษรต่ำคู่และอักษรสูงเป็นเสียง สามัญ และจัตวาของกันและกัน เช่น คา ข่า ข้า (ค่า) ค้า  ขา   ดังนั้นเมื่อเทียบกันแล้วจึงถือว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน ) -อักษรสูงคำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ 3 เสียง คือ เอก (ผันด้วยไม้เอก) โท (ผันด้วยไม้โท) และจัตวา -อักษรตำคู่คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ 3 เสียง คือ สามัญ โท (ผันด้วยไม้เอก) และตรี (ผันด้วยไม้โท) ทำเขียนออกมาได้ครบทุกเสียง เมื่อนำไปรวมกับอักษรสูงคำเป็นแล้ว -อักษรสูงคำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ 2 เสียง คือ เอก และโท (ผันด้วยไม้โท) อักษรต่ำ  เป็นอ

เสียงในภาษาไทย - เสียงดนตรี (เสียงวรรณยุกต์)

รูปภาพ
เสียงดนตรี คือ เสียงสูงต่ำ ในภาษาไทยเสียงวรรณยุกต์ต่างกันให้ความหมายของคำต่างกัน เสียงดนตรี มี 5 หน่วยเสียง โดยทั้ง 5 หน่วยเสียง แบ่งตามลักษณะของเสียงออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. หน่วยเสียงวรรณยุกต์ระดับ คือ เสียงวรรณยุกต์อยู่ในระเดียวตลอด มี 3 หน่วยเสียง คือ สามัญ เอก ตรี 2. หน่วยเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ คือ เสียงวรรณยุกต์ที่ตอนท้ายเสียงจะมีระดับสูงหรือต่ำก็ได้ มี 2 หน่วยเสียง คือ โท จัตวา สามารถเขียนตารางได้ดังนี้ เนื้อหาตรงตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท 4.1 ม.1/1 อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย (เสียงในภาษาไทย), ม.4-6/1 อธิบายธรรมชาติของภาษา พลังของภาษา และลักษณะของภาษา(เสียงในภาษาไทย) อ้างอิง หนังสือ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2550).  ลักษณะภาษาไทย . ม.ป.ท.: ม.ป.พ. (สำเนา) เว็บ https://www.gotoknow.org/posts/424763

เสียงในภาษาไทย - เสียงแปร (เสียงพยัญชนะ)

รูปภาพ
พยัญชนะในภาษาไทยอย่างที่เรา ๆ รู้กันดีว่ามี 44 ตัว (ใช้จริง 42) แต่สำหรับเสียงพยัญชนะนั้นมีแค่เพียง 21 หน่วยเสียงเท่านั้น (ไม่ใช่เสียงนะครับ) มีดังนี้                                             /ก/  มีพยัญชนะ  ก                                             /ค/    มีพยัญชนะ  ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ                                             /ง/    มีพยัญชนะ  ง                                             /จ/    มีพยัญชนะ  จ                                             /ช/    มีพยัญชนะ  ฉ, ช, ฌ                                             /ด/    มีพยัญชนะ  ฎ, ด                                             /ต/    มีพยัญชนะ  ฏ, ต                                             /ท    มีพยัญชนะ   ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ                                             /น/    มีพยัญชนะ  ณ, น                                             /บ/    มีพยัญชนะ  บ                                             /ป/    มีพยัญชนะ  ป                                             /พ/    มีพยัญชนะ  ผ, พ, ภ                      

แบบทดสอบ คำกริยา

รูปภาพ
Loading...

คำกริยา

รูปภาพ
          คำกริยา  คือ คำที่แสดงอาการ บอกสภาพ หรือแสดงการกระทำของประธานในประโยค หากขาดคำกริยาจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ คำกริยาจึงเป็นคำสำคัญในประโยคซึ่งอาจจะเป็นคำแสดงอาการคำเดียวหรือเป็นกลุ่มคำก็ได้ เช่น นั่ง นั่งเล่น ดู ดูแล ร้อง ร้องเรียก ร้องแพลง นั่งร้องเพลง เป็นต้น ชนิดของคำกริยา คำกริยามี   4  ชนิด  คือ           1. คำกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวของมันเอง (อกรรมกริยา) คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เป็นคำที่บอกอาการแล้วผู้ฟังสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที และอาจมีคำขยายกริยาหรือมีคำบุพบทประกอบประโยคก็ได้ ได้แก่คำว่า           ยืน    นอน    วิ่ง    เดิน    ร้องไห้    บิน    นั่ง    โค่น    ตก    เห่า ตัวอย่างเช่น -   น้องสาว ร้องเพลง ในบ้าน     (มีส่วนขยาย คือ คำว่า ในบ้าน -   พี่ชาย นั่งเล่น ที่สวนสาธารณะ     (มีส่วนขยาย คือ คำว่า ที่สวนสาธารณะ)           2. คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ (สกรรมกริยา) คำกริยาชนิดนี้ถ้าไม่มีกรรมมารับข้างท้ายแล้วจะทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ เพราะความหมายยังไม่สมบูรณ์ ได้แก่คำว่า                     ไป    ซื้